ของฝากจังหวัดร้อยเอ็ด
กุนเชียง
กุนเชียงเป็นผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ในกลุ่มไส้กรอก ประเภท ไส้กรอกแห้ง ไม่มีการหมักด้วยจุลินทรีย์ ใช้วิธีการถนอมอาหารด้วยการทำแห้ง (dehydration) กุนเชียงมีลักษณะเนื้อหยาบ ไม่เป็นอิมัลชัน กุนเชียงมีส่วนผสมหลักคือเนื้อหมู และ มันหมู เช่นเดียวกับไส้กรอกปรุงรสด้วย เกลือ น้ำตาล เครื่องเทศ ซีอิ๊ว ไนไตรท์ ไนเตรท ฟอสเฟต (phosphate) ใส่ลงไปเพื่อ ให้กลิ่น รสและ ทำให้ ลักษณะของผลิตภัณฑ์ดีขึ้นเนื่อง จากในกุนเชียงมีไขมันเป็นส่วนประกอบ หลัก และยังคงมีความชื้นสูง จึงทำให้กุนเชียง อาจจะเกิดกลิ่นหืนและการเสื่อมเสีย เนื่องจากจุลินทรีย์ได้ง่าย ควรมีค่าวอเตอร์แอกติวิตีต่ำกว่า 0.70 จะปลอดภัยจากเชื้อจุลินทรีย์เมื่อรักษา และต้องหลีก เลี่ยงสภาวะที่ส่งเสริมการเสื่อมเสียของ อาหารแห้ง เช่น การเกิดออกซิเดชัน (auto oxidation) เนื่องจากไขมันจะทำปฏิกิริยากับ อากาศทำให้เกิดการเหม็นหืนขึ้นได้ นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงสีเนื่องจากอุณหภูมิ สูง ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการเก็บรักษาที่อุณหภูมิสูงและควรเก็บในที่อากาศถ่ายเทได้ สะดวก
เป็นผลิตภัณฑ์พื้นบ้านซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศเวียดนาม กรมปศุสัตว์ได้พัฒนาสูตรมาตรฐานและเผยแพร่แก่ผู้สนใจทั่วไป ส่วนผสมประกอบด้วยเนื้อหมูบดละเอียด ๕ กิโลกรัม มันหมูบดละเอียด ๑.๕ กิโลกรัม น้ำแข็ง ๕๐๐ กรัม พริกไทย ๘๐ กรัม เกลือแกง ๘๐ กรัม ผงชูรส ๑๐ กรัม น้ำตาลทราย ๘๐ กรัม โซเดียมฟอสเฟต ๑๐ กรัม น้ำปลา ๑๐๐ กรัม แป้งมัน ๒๐๐ กรัม นำเนื้อหมูที่บดละเอียดใส่ในเครื่องสับผสม เดินเครื่องสับพร้อมกับเติมเครื่องปรุง น้ำแข็ง มันหมูบด ควบคุมอุณหภูมิสุดท้ายไม่เกิน ๑๒ – ๑๕ ๐C จนได้ส่วนผสมที่เป็นเนื้อเดียวกันแล้วนำมาบรรจุในพิมพ์สแตนเลส หรือห่อด้วยใบตอง นำไปต้มหรือนึ่งที่อุณหภูมิ ๗๕ ๐C จนกระทั่งอุณหภูมิกึ่งกลางของหมูยอได้ ๗๒ ๐C เสร็จแล้วแช่น้ำเย็นเพื่อลดอุณหภูมิ การเก็บรักษาหมูยอให้เก็บไว้ที่อุณหภูมิต่ำ (๒ – ๔ ๐C) คุณค่าทางโภชนาการมีดังนี้ โปรตีน ๑๕.๗๖ % ไขมัน ๒๐.๓๐ % ความชื้น ๖๑.๔๔ % และเถ้า ๑.๗๖ %
แหนม
แหนม เป็นชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ทําด้วยเนื้อสัตว์ เช่น หมู หมักให้เปรี้ยวด้วยข้าว น้ำตาล เกลือ และดินประสิว รสชาติเปรี้ยวนั้นเกิดจากเชื้อจุลินทรีย์กลุ่มแล็กโตบาซิลลัสที่ก่อตัวจากการหมัก แหนมมีหลายชนิด เช่น แหนมเนื้อหมู หูหมู แหนมซี่โครง แหนมที่ทำไว้นานเกินไปจะมีกลิ่นเปรี้ยวมากและมีเมือกไม่น่ารับประทาน นอกจากนี้ แหนมเป็นอาหารดิบ อาจมีพยาธิและแบคทีเรียควรปรุงให้สุกก่อนบริโภค ถ้าไว้ในอุณหภูมิห้อง จะเก็บได้ประมาณ 1 สัปดาห์ แต่ถ้าไว้ในตู้เย็น จะเก็บได้ราว 1 เดือน ภาคเหนือเรียกแหนมว่า จิ้นส้ม (จิ้น แปลว่าเนื้อ และส้ม แปลว่าเปรี้ยว)
หมูหยอง
หมูหย็อง (มักสะกดผิดว่า หมูหยอง) เป็นของกินทำด้วยหมูเนื้อแดงปรุงรส ต้มเคี่ยวให้เปื่อยจนงวด นำไปผัดจนแห้ง ขยี้ให้เป็นฝอย มักใช้รับประทานด้วยอาหารอื่น เช่น โรยข้าวต้มหรือโจ๊ก หรือเป็นเครื่องปรุงอาหารอื่น เช่น เป็นไส้ซาลาเปาหรือเป็นหน้าข้าวตังหมูหย็องกำเนิดมาแต่มณฑลฮกเกี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน และพบเห็นบ่อยในอาหารของชนชาตินี้ผู้ไม่พึงใจรับประทานสุกร เปลี่ยนไปใช้เนื้อสัตว์อื่นหย็องแทนก็มี เช่น ชาวมุสลิมนิยมรับประทานไก่หรือเนื้อหย็องเป็นอันมาก โดยเฉพาะในหน้าเราะมะฎอนและฮารีรายออีดุลฟิฏริ และจีนบางเหล่านิยมปลาหย็อง
จังหวัดร้อยเอ็ด มีแหล่งที่ผลิตภัณฑ์พื้นเมืองหลายประเภท อาทิ ผ้าไหมที่บ้านหวายหลึม อำเภอธวัชบุรี มีผ้าไหมหลายชนิดมากมาย ทั้งสีสันลวดลายและความประณีต ร้อยเอ็ดได้ชื่อว่าเป็นแห่งผลิตผ้าไหมชั้นเยี่ยม ได้รับรางวัลในการประกวดผ้าไหมหลายครั้ง แคน ที่บ้านสีแก้ว อำเภอเมืองร้อยเอ็ด เป็นแคนที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย นอกจากนั้นยังมีการทำฟืม สำหรับทอผ้าที่บ้านเขือง อำเภอธวัชบุรี สามารถทำรายได้ให้แก่ราษฎรในหมู่บ้านเป็นอย่างมาก สำหรับร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์และของที่ระลึก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น